EP3. รู้ไว้..ได้เปรียบ คดีพิพาทต่างๆเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุด ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบวิชาชีพอิสระวิชากฎหมาย

EP3. รู้ไว้..ได้เปรียบ คดีพิพาทต่างๆเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุด ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบวิชาชีพอิสระวิชากฎหมาย

20 ส.ค. 2024 | บทความ

1.ประเด็นเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบวิชาชีพอิสระวิชากฎหมาย
            ตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้การประกอบกิจการในประเภทการ ประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกําหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ทําให้ผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตและกิจการสอบบัญชีอันประกอบวิชาชีพใน การให้บริการด้านการสอบบัญชีนั้นถือเป็นผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่ง ประมวลรัษฎากรและเป็นผู้ที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากพิจารณาบริการวิชาชีพที่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว อาจมองได้ว่า เนื่องจากรัฐเป็น ผู้ออกกฎหมายบังคับให้บริษัทต่างๆ มีการสอบบัญชี รัฐจึงไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการหรือบริษัทที่ใช้ บริการสอบบัญชีมีภาระจากค่าบริการที่สูงขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่บังคับใช้แทนภาษีการค้า อีกทั้งยังมี กิจการขนาดเล็กที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นหากรัฐไม่ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชี จะทําให้กิจการที่ใช้บริการสอบบัญชีเหล่านี้มีภาระต้องจ่ายค่าบริการที่สูงขึ้นจากภาษีซื้อของค่าบริการสอบบัญชี)

ประเด็นเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การประกอบวิชาชีพอิสระวิชากฎหมาย ถ้า เป็นการให้บริการการว่าความ จะได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฌ) แห่ง ประมวลรัษฎากร5 ซึ่งการให้บริการการว่าความนั้น หมายถึง งานที่ทนายความได้ทำการว่าความหรือว่าต่างแก้คดีในศาลเท่านั้นที่ถือว่าเป็นการให้บริการว่าความที่จะได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
การประกอบโรคศิลปะ
พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ซึ่งยกเลิกพระราชบัญญัติ ทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพ จึงมีหน้าที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 แต่ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ค่าว่าความ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81 (1) (ฌ)
________________________________________________________________________________


2.ประเด็น เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายค่าที่ปรึกษากฎหมาย

ข้อกฎหมาย            : มาตรา 40(6)
ข้อหารือ  : บริษัท ซ. ประกอบกิจการให้บริการรับฝึกอบรมด้านกระบวนการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การจัดสัมมนาหลักสูตรฝึกอบรมในกิจกรรมทางธุรกิจ และระบบข้อมูลต่าง ๆ โดยมีการว่าจ้างบุคคลธรรมดาให้เป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ เพื่อให้คำปรึกษาในการทำนิติกรรมสัญญาที่บริษัทฯ จะต้องทำกับบุคคลภายนอก ให้คำปรึกษาในด้านคดีความที่บริษัทฯ มีการฟ้องร้องและถูกฟ้องร้องตลอดจนให้คำปรึกษาในเรื่องข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ ที่ปรึกษาของบริษัทฯ ดังกล่าวมิได้มีฐานะเป็นพนักงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด ซึ่งในการจ่ายค่าตอบแทน บริษัทฯ จะจ่ายเดือนละหนึ่งครั้งในจำนวนที่เท่ากันทุกครั้ง บริษัทฯ หารือว่า การจ่ายค่าที่ปรึกษากฎหมายดังกล่าวถือเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย : ค่าที่ปรึกษากฎหมายเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย ตามมาตรา40(6) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศไทย มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0ตามข้อ 7(1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
_____________________________________________________________________________

3. มาตรา 42 เงินได้ที่ยกเว้นภาษี เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

–  เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม  ( ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2557 )

-เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นเงินได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมอันได้มาโดยทางมรดกหรือได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามส่วน 2 หมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร – เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก และถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ข้อสังเกตุ การที่รัฐยกเลิกมาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการยกเลิกการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรจากการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลในคณะบุคคลฯ ต้องนำเงินได้สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรมารวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ครั้งจากเงินได้พึงประเมินจำนวนเดียวกัน จึงเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ( Double Taxation)  ที่ขัดกับหลักความเป็นธรรมในการเก็บและเสียภาษี และ หลักนิติธรรม

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this